วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

16 September 2556

ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้มีอาจารย์เข้ามาสอนคือ อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิน 
อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม ๆ ละ 5 - 6  คน  แล้วนั่งรวมกลุ่มกัน ให้แต่ละกลุ่มเลือกอาหารที่จะทำ
กลุ่มที่  1  แกงจืดเต้าหู้หมูสับ
กลุ่มที่  2  แซนวิทไข่ดาว
กลุ่มที่  3  วุ้นมะพร้าว
กลุ่มที่  4  ข้าวผัด
กลุ่มที่  5  ไข่ตุ๋น

***กลุ่มของดิฉันเลือกคือ แกงจืดเต้าหู้หมูสับ***

จุดประสงค์
  • เด็กสามารถบอกวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการประกอบอาการได้
  • เด็กสามารถบอกการเปลี่ยนแปลงของวุตถุดิบก่อนใส่และหลังใส่ได้
  • เด็กสามารถบอกรสชาติของแกงจืดได้
  • เด็กสามารถบอกขั้นตอนในการทำได้
ประสบการณ์สำคัญ
  1. การสังเกต
  2. การทดลอง
  3. การเปรียบเทียบ
  4. การคาดคะเน
กิจกรรม

        ขั้นนำ
  1. เด็กและครูร่วมกันสร้างข้อตกลงร่วมกันในการทำอาหาร
  2. เด็กและครูสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเมนูอาหารที่ทำในวันนี้

        ขั้นสอน
 1     เด็กและครูร่วมกันสรุปข้อตกลงเมนูอาหารในวันนี้
 2     ครูนำวัตถุดิบมาให้เด็กๆดูและครูถามว่า
"เด็กๆรู้จักวัตถุดิบที่ครูนำมาหรือไม่"
"เด็กๆคิดว่ารสชาติของผักแต่ละชนิดมีรสชาติอย่างไร"
"เด็กๆลองดูซิว่าของแต่ละอย่างมีลักษณะอย่างไร"
3     ครูเริ่มสาธิตวิธีการทำให้เด็กดู
4     ครูให้เด็กๆสังเกตวัตถุดิบที่ใส่ลงไปแล้วบอกว่ามีลักษณะอย่างไร
5     ครูอุเด็กชิมรสชาติของอาหารก่อนปรุงรสและหลังปรุงรส

         ขั้นสรุป

ครูและเด็กร่วมกันชิมรสชาติของอาหาร

ภาพกิจกรรม
อุปกรณ์

กำลังลงมือปฏิบัติ

วัตถุในการแกงจืด


วิธีการทำแกงจืด

ภาพกิจกรรม


ภาพกิจกรรม

นำเสนอแผนกิจกรรมหน้าชั้นเรียน

***สรุปองค์ความรู้เป็น  Mind Maple***



      9 September 2556


      ***ไม่มีการเรียนการเรียนการสอน***


      วันนี้นักศึกษาได้หาความรู้เพิ่มเติมจากที่เรียนวิทยาศาสตร์

      การทดลองวิทยาศาสตร์เเบบง่ายๆ


      ขวดเป่าลูกโป่ง


      ...ก๊าซเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็นแต่เรารู้ว่ามันเกิดขึ้นและมีอยู่ได้โดยจับมันไว้ในลูกโป่ง 
      สิ่งที่ต้องใช้
      1. ขวดแก้วเตี้ย อย่างขวดน้ำส้มสแปลช 1 ขวด
      2. ลูกโป่ง 1 ใบ
      3. ผงฟู (เบกกิ้งโซดา) 5 ช้อนโต๊ะ
      4. น้ำส้มสายชู


      วิธีทดลอง
      1. เป่าลูกโป่งให้ยืดตัวก่อนทดลองสัก 2 รอบ
      2. ใส่เบกกิ้งโซดา ลงในขวดแก้ว
      3. เติมน้ำส้มสายชูลงไป
      4. ครอบลูกโป่งลงบนปากขวด

      เพราะอะไรกันนะ
                  เมื่อเบกกิ้งโซดา ทำปฏิกิริยากับน้ำส้มสายชูจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ขึ้นก๊าซเบากว่าอากาศ จึงลอยสูงขึ้น เมื่อมีก๊าซมากๆก็จะดันลูกโป่งให้พองออกได้    เบกกิ้งโซดา (Baking Soda) มีชื่อทางวิทย่ศาสตร์ว่า  โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium Bicarbonate) หรือที่คุณแม่เรียกว่า ผงฟู นั่นเอง



       เปลวไฟลอยน้ำ



      สิ่งที่ต้องใช้
      1.        เทียนไข
      2. แก้วทรงสูงใส่น้ำ (ต้องสูงกว่าความยาวเทียนนะ)
      3.       หมุดหัวหมวก หรือตะปูเกลียวตัวเล็กๆ

      วิธีทดลอง

      1.        เเติมน้ำลงในแก้ว 5/6 แก้ว 
      2.       นำหมุดมาปักลงที่ฐานเทียนไข(ด้านป้าน)
      3.    นำ แท่งเทียนใส่ลงไปในแก้วน้ำ แล้วจุดเทียน
      เพราะอะไรกันนะ


                  เทียนไขลอยอยู่ที่ผิวน้ำได้ และไฟก็จะไม่ดับ เพราะเทียนทำจากขี้ผึ้งพาราฟินจึงไม่เปียกน้ำ และหมุดหัวหมวก ทำหน้าที่เป็นจุดรวมน้ำหนักให้อยู่ที่แกนกลางแท่งเทียนจึงไม่เอียงคว่ำ ขี้ผึ้งพาราฟินเป็นไขมันที่ได้จากการกลั่นจากปิโตรเลียมมีลักษณะใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ คล้ายกับขี้ผึ้ง จุดหลอมเหลวที่ 47-64 องศาเซลเซียส ซึ่งขี้ผึ้งพาราฟินบริสุทธิ์จะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี ไม่ละลายน้ำ พาราฟินมักนำมาทำเทียนไข หรือเคลือบวัสดุต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้โดนความชื้นจากน้ำ 


        ความลับของสี


      สีต่างๆที่เราเห็น ไม่ได้ประกอบด้วยสีเดียวเสมอไปนะ  ในแต่ละสีอาจมีรวมกันอยู่ถึง 4 สี เรามาทดลองเพื่อเผยความลับของสีกันเถอะ

      สิ่งที่ต้องใช้
      1. สีเมจิ สีดำ , น้ำเงิน , น้ำตาล (สีเข้มๆจะให้ผลการทดลองที่น่าตื่นเต้น)
      2. กระดาษกรองกาแฟ , กรองตะกอนน้ำมัน
      3. แก้วใส่น้ำ

      วิธีทดลอง
      1. ตัดกระดาษกรองเป็นแถบยาวๆ
      2. ระบายสีเมจิที่ต้องการทดสอบให้เป็นแถบหนา โดยห่างจากปลายกระดาษประมาณ 1 ซม.
      3. จุ่มปลายกระดาษในช่วงที่เว้นไว้ 1ซม. ลงในน้ำ *ระวังอย่าให้เส้นสีที่ขีดไว้จมน้ำ เพราะสีจะลายลายลงน้ำ
      4. รอดู สังเกตแถบสีที่เริ่มไต่สูงขึ้นไปบนกระดาษกรอง  เธอเห็นสีอะไรซ่อนอยู่?
      5. นำกระดาษไปหนีบผึ่งไว้กับที่ตากถุงเท้า แล้วทดลองสีต่อไป 

      เพราะอะไรกันนะ

                      สีสังเคราะห์เกิดจากการผสมของแม่สี คือ แดง เหลือง น้ำเงิน ในอัตราส่วนไม่เท่ากัน ทำให้เกิดสีต่างๆมากมาย  การแยกสีด้วยกระดาษกรองนี้ เราเรียกว่า "เปอเปอร์โครมาโทกราฟี" (Paper Chromatography) ซึ่งเป็นการแยกสารที่ผสมกันในปริมาณน้อยให้แยกออกมาเป็นแถบเส้นสีหรือแถบสี อาศัยสมบัติ 2 ประการ คือ 
          1. สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการละลายในตัวทำละลาย (น้ำ) ได้ต่างกัน


          2. สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการถูกดูดซับด้วยตัวดูดซับ (กระดาษกรอง)ได้ต่างกัน 
      สารที่ละลายในตัวทำละลายได้ดีส่วนมากจะถูกดูดซับไม่ดี จึงเคลื่อนที่ไปได้ไกล ส่วนสารที่ละลายในตัวทำละลายได้ไม่ดี ส่วนมากจะถูกดูดซับได้ดีจึงอยู่ใกล้จุดเริ่มต้น


       ไข่เอย..จงนิ่ม


      สิ่งที่ต้องใช้
      1. แก้ว 1 ใบ
      2. ไข่ไก่ 1 ฟอง
      3. น้ำส้มสายชู

      วิธีทดลอง
      1. นำไข่ไก่ใส่ลงไปในแก้ว
      2. เทน้ำส้มสายชูลงไปให้ท่วมไข่
      3. ทิ้งไว้ 1 คืน  อดใจรอนะพอตอนเช้าเทน้ำออกก็แล้วลองจับไข่ดูซิ..

      เพราะอะไรกันนะ


      น้ำส้มสายชูเป็นสารเคมีประเภทกรดอินทรีย์ ได้แก่ กรดน้ำส้มหรือกรดอะซิติก ซึ่งสามารถละลายแคลเซียมได้ เปลือกไข่มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้เปลือกไข่แข็ง  เมื่อถูกละลายหายไป เปลือกไข่จึงนิ่ม 





      2 September 2556

      ***ไม่มีการเรียนการสอน***

      (อาจารย์ติดประชุม)