วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

28 July 2556

ความรู้ที่ได้รับ

***วันนี้เป็นวันเรียนชดเชย จึงมาเรียนชดเชยในวันที่                             28  กรกฏาคม  2556***

กิจกรรมในวันนี้

นำเสนอของเล่น  กังหันลมจิ๋ว
กังหันลมจิ๋ว                      
วัสดุ / อุปกรณ์
  1.           กระดาษขนาด  20 * 2  ซ..  9  แผ่น






2.  กรรไกร



3. ตะเกียบ




4. เชือก





วิธีการทำ

1.             พับครึ่งกระดาษทั้งหมด





2.             อ้าปลายกระดาษแผ่นหนึ่ง แล้วสอดกระดาษอีกแผ่นอีกแผ่นหนึ่งเข้าไปข้างใน  ดังรูป



3.             นำกระดาษแผ่นที่  3 มาทำแบบเดียวกันโดยให้รอยพับของกระดาษไปปิดส่วนปลายที่เปิดอ้าของกระดาษแผ่นที่  2




4.             นำส่วนที่เปิดอ้าอยู่ของส่วนที่  3  ใส่เข้าไปในรอยพับของกระดาษแผ่นแรก จัดเป็นรูปสามเหลี่ยม จากนั้นค่อยๆ ดึงส่วนปลายของกระดาษทั้งสามแผ่นจนส่วนที่เป็นรอยพับติดกันแน่น



5.             เสร็จเรียบร้อย


6.             ร้อยเชือกเข้าที่มุมแล้วผูกปม




***สอนเพื่อนทำกังหันลมจิ๋ว***



***เพื่อนสอนทำของเล่น***


วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

22 July 2556

ความรู้ที่ได้รับ



วันอาสาฬหบูชา หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ตรัสรู้เป็นครั้งแรก จึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก และด้วยการที่พระพุทธเจ้าทรงสามารถ แสดง เปิดเผย ทำให้แจ้ง แก่ชาวโลก ซึ่งพระธรรมที่ตรัสรู้ได้ จึงถือได้ว่าพระองค์ได้ทรงกลายเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ คือทรงสำเร็จภารกิจแห่งการเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น "สัมมาสัมพุทธะ" คือเป็นพระพุทธเจ้าผู้สามารถแสดงสิ่งที่ตรัสรู้ให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ซึ่งแตกต่างจาก "พระปัจเจกพุทธเจ้า" ที่แม้จะตรัสรู้เองได้โดยชอบ แต่ทว่าไม่สามารถสอนหรือเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระธรรม"


            วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่ท่านโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมสำเร็จพระโสดาบันเป็นพระอริยบุคคลคนแรก และได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสมบทเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระศาสนา และด้วยการที่ท่านเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในโลกดังกล่าว พระรัตนตรัยจึงครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระสงฆ์"



วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

15 July 2556


ความรู้ที่ได้รับ

***วันนี้นำเสนอคอนเซ็ป   การทดลอง***


วันนี้ดิฉันได้นำเสนอผลงานชื่อ   ไข่เด้งดิ๋ง  มีรายละเอียด ดังนี้

วัตถุประสงค์

1. สามารถทำการทดลองและสังเกตปฏิกิริยาเคมีระหว่างแคลเซียมในไข่ไก่กับน้ำส้มสายชูได้
2. สามารถเปรียบเทียมการเปลี่ยนแปลงของไข่ ในสารประกอบที่ต่างกันได้
3. เข้าใจและสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้


อุปกรณ์


ขั้นตอนการปฏิบัติ 

 

1. เทน้ำและน้ำส้มสายชูลงในแก้ว อย่างละครึ่งแก้ว



2. ค่อยๆหย่อนไข่ลงในแก้วที่ใส่น้ำ และน้ำส้มสายชูไว้แล้วในข้อแรก แก้วละ 1 ฟอง


3. แช่ไข่ทั้งสองฟองไว้ประมาณ 48 ชั่วโมง

4. สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง ของไข่ในแก้วน้ำทั้งสอง








ผลการทดทอง

ในแก้วที่ใส่น้ำไข่และน้ำยังมีสภาพเหมือนเดิม แต่ในแก้วที่ใส่น้ำส้มสายชูเกิดฟองแก๊สขึ้น มีตะกอนสีน้ำตาลลอยอยู่เหนือน้ำส้มสายชู และเปลือกไข่จะมีสีอ่อนกว่าเดิมเรื่อยๆ จนกระทั่งไข่มีเปลือกที่นิ่ม ใส่ และฟองไข่จะใหญ่ขึ้น เมื่อนำไข่ในแก้วที่แช่ในน้ำโยนลงพื้นไข่ก็จะแตกแต่ไข่ที่แช่ในน้ำส้มสายชู โยนลงบนพื้นไข่จะไม่แตก





***สรุปผลการทดลอง***


 - น้ำส้มสายชูทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี เนื่องจากเปลือกไข่ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต(CaCO3) จึงทำให้เปลืองไข่แข็ง ถ้านำมาทำปฏิกิริยากับน้ำส้มสายชู ซึ่งมีกรดอะซิติกเป็นองค์ประกอบ แคลเซียมคาร์บอเนตและกรดอะซิติกจะทำปฏิกิริยาเคมีต่อกัน
ซึ่งจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา สามารถสังเกตได้จากฟองอากาศที่เกิดขึ้น
  - การที่เปลือกไข่นิ่มเนื่องจากเปลือกไข่มีการสูญเสียแคลเซียมคาร์บอเนต แล้วกลายสภาพเป็นไรหินปูน (decalcified)
 - ไข่มีฟองที่ใหญ่ขึ้นเพราะ ความเข้มข้นของน้ำส้มสายชูมากกว่าความเข้มข้นภายในฟองไข่ จงทำให้เกอดการออสโมซิสจากภายนอกเข้าสู่ภายในฟองไข่ 
หมายเหตุ : โดยปฏิกิริยานี้จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 48 ชม. จึงจะสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน


วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

8 July 2556

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้หน่วยการเรียนรู้เรื่อง    มหัศจรรย์ของน้ำ

วันนี้อาจารย์แจกกระดาษคนละ 2 ใบ ให้พับกระดาษแผ่นละ 8 ช่อง นำมาแม็กรวมกัน แล้วให้วาดรูปต่อเนื่องจากแผ่นที่ 1 - 8 

***รูปที่นักศึกษาวาดคือ  รูปบ้าน***



ให้วาดรูปดอกไม้ และรูปผีเสื้อคนละใบแล้วนำมาประกบกัน




***เรื่องของน้ำ***


  • เวลาศร้อน  จะมีเหงื่อออกมาตามร่างกายเรา
  • เสียเหงื่อมากเท่ากับเราสูญเสียน้ำาอากในร่างกายมาก
  • ต่างๆบนโลกมีน้ำประกอบอยู่ด้วยย
  • ผลไม้ พืชผักต่างๆนำมีดมาหั่นหรือสับละเอียดจากนั้นลองบีบ ปรากฏว่ามีน้ำอยู่
  • ผัก ผลไม้ มีน้ำอยู่             90    %
  • ร่างกายมุนษย์มีน้ำอยู่       70   %
  •  ถ้าร่างกายขาดน้ำ ร่างกายจะอ่อนเพลีย คนเราจะจะขาดน้ำได้นานสุด 3 วัน
  • คนในทะเลทรายจะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม อูฐสามารถอดน้ำได้  10  วันมันจะนำไขมันในร่างกายมาปรับใช้
น้ำมีอยู่  3  สถานะ
  1. ของแข็ง           =             น้ำแข็ง
  2. ของเหลว         =             น้ำที่ใช้ดื่ม อาบ
  3. ก๊าซ                 =             ไอน้ำ
  • เหตุแครทจึงลอยกึ่งกลางแก้วน้ำ   =  เท่น้ำเกลือลงไป น้ำเกลือจะมีความหนาแน่นจะมีน้ำหนักกว่าน้ำ แครทจะลอยอยู่บนพื้นน้ำเกลือ
  • น้ำแข็งติดกับผ้าพันแผล                =   โรยเกลือลงบนผ้าพันแผล เกลือสามารถดูดความร้อนจากบริเวณที่เกาะทำให้อุณหภูมิต่ำ
  • น้ำที่อยู่บนสุด    =   แรงกดดันน้อย
  • น้ำที่อยู่ล่างสุด  =    แรงกดดันมาก  เพราะมีน้ำหนกจากข้างบนกทับลงมา แรงกดดันขึ้นอยู่กับความลึกมาก  น้ำจะพุ่งไกล

***มีสรุปเป็น Mind Maple ดังนี้***



วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

1 July 2556


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้หน่วยการเรียนรู้เรื่องของ  แสง

การเดินทางของแสง   แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งความเร็วเคลื่อนที่ ประมาฌ  300000   กิโลเมตร/ชั่วโมง
คุณสมบัติของแสง      แสงจะมีคุณสมบัติที่สำคัญ 4 ข้อ 
  1.  การเดินทางเป็นเส้นตรง (Rectilinear propagation) 
  2.  การหักเห (Refraction) 
  3.  การสะท้อน (Reflection) 
  4.  การกระจาย (Dispersion) 


การเดินทางแสงเป็นเส้นตรง ในตัวกลางที่มีค่าดัชนีการหักเห (refractive index ; n) ของแสงเท่ากัน แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง

ลำแสง


แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง เดินทางในรูปคลื่นด้วยอัตราเร็วสูง 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที แหล่งกำเนิดแสงมีทั้งแหล่งกำเนิดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น แสงดวงอาทิตย์ที่เป็นแหล่งพลังงานของสิ่งมีชีวิต แหล่งกำเนินแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น แสงสว่างจากหลอดไฟ เป็นต้น
เมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มควันหรือฝุ่นละออง จะเห็นเป็นลำแสงเส้นตรง และสามารถทะลุผ่านวัตถุได้ วัตถุที่ยอมให้แสงเคลื่อนที่ผ่านเป็นเส้นตรงไปได้นั้น เราเรียกวัตถุนี้ว่า วัตถุโปร่งใส เช่น แก้ว อากาศ น้ำ เป็นต้น ถ้าแสงเคลื่อนที่ผ่านวัตถุบางชนิดแล้วเกิดการกระจายของแสงออกไป โดยรอบ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไม่เป็นเส้นตรง เราเรียกวัตถุนั้นว่า วัตถุโปร่งแสง เช่น กระจกฝ้า กระดาษไข พลาสติกฝ้า เป็นต้น ส่วนวัตถุที่ไม่ยอมให้แสงเคลื่อนที่ผ่านไปได้ เราเรียกว่า วัตถุทึบแสง เช่น ผนังคอนกรีต กระดาษแข็งหนาๆ เป็นต้น วัตถุทึบแสงจะสะท้อนแสงบางส่วนและดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ทำให้เกิดเงาขึ้น
การสะท้อนของแสง (Reflection)
เป็นปรากฏการณ์ที่แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นค่าหนึ่งมายังตัวกลางที่มีค่าความหนาแน่นอีกตัวหนึ่ง ทำให้แสงตกกระทบกับตัวกลางใหม่ แล้วสะท้อนกลับสู่ตัวเดิม เช่น การสะท้อนของแสงจากอากาศกับผิวหน้าของกระจกเงาจะเกิดการสะท้อนแสงที่ผิวหน้าของกระจกเงาราบแล้วกลับสู่อากาศดังเดิม เมื่อแสงตกกระทบกับผิวหน้าของตัวกลางใดๆ ปริมาณและทิศทางของการสะท้อนของแสง จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของพื้นผิวหน้าของตัวกลางที่ตกกระทบ จากรูป เมื่อลำแสงขนานตกกระทบพื้นผิวหน้าวัตถุที่เรียบ แสงจะสะท้อนเป็นลำแสงขนานเหมือนกับลำแสงที่ตกกระทบ การสะท้อนบนพื้นผิวหน้าที่เรียบ โดยเรียกว่า การสะท้อนแบบสม่ำเสมอ

การสะท้อนของแสงเมื่อตกกระทบพื้นผิววัตถุที่เรียบ
เกิดขึ้นเมื่อลำแสงตกกระทบไปยังพื้นกระจกหรือพื้นผิวที่ขรุขระจะส่งผลให้แสงสะท้อนกลับไปคนละทิศละทาง



  รังสีตก กระทบ (Incident Ray) คือ รังสีของแสงที่พุ่งเข้าหาพื้นผิวของวัตถุ
  รังสีสะท้อน (Reflected Ray) คือ รังสีของแสงที่พุ่งออกจากพื้นผิวของวัตถุ
  เส้นปกติ (Normal) คือ เส้นที่ลากตั้งฉากกับพื้นผิวของวัตถุตรงจุดที่แสงกระทบ
  มุมตกกระทบ (Angle of Incidence) คือ มุมที่รังสีตกกระทบทำกับเส้นปกติ
  มุมสะท้อน (Angle of Reflection) คือ มุมที่รังสีสะท้อนทำกับเส้นปกติ

กฎการสะท้อนของแสง (The Laws of Reflection) มี 2 ข้อ ดังนี้
รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นปกติจะอยู่ในระนาบเดียวกัน
มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน ดังภาพ
สเปกตรัมของแสง

แสงจากดวงอาทิตย์เป็นแสงขาว ซึ่งเราสามารถใช้ปริซึมแยกแสงที่เป็นองค์ประกอบของแสงขาวออกจากกันได้เป็นแถบสีต่างๆ 7 สีเรียงติดกัน เราเรียกแถบสีที่เรียงติดกันนี้ว่า สเปกตรัม


ภาพแสดงสเปกตรัมของคลื่นแสงขาว

ปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำ ก็เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่หยดน้ำฝนหรือละอองน้ำทำหน้าที่เป็นปริซึม แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องลงมาจะเกิดการหักเหทำให้เกิดเป็นแถบสีบนท้องฟ้า


ภาพแสดงการเกิดสเปกตรัมสีรุ้งของแสงเมือลำแสงผ่านปริซึม

จากภาพแสงสีแดงจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสงสีม่วง ทำให้แสงสีแดงเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่น้อยกว่าแสงสีม่วง เป็นสาเหตุทำให้เกิดการกระจายของแสงขาวเรียงกันเป็นแถบสีเกิดขึ้น
สีของแสง
การมองเห็นสีต่าง ๆ บนวัตถุเกิดจากการผสมของแสงสี เช่น แสงขาวอาจเกิดจากแสงเพียง 3 สีรวมกัน แสงทั้ง 3 สี ได้แก่ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน หรือเรียกว่า สีปฐมภูมิ และถ้านำแสงที่เกิดจากการผสมกันของสีปฐมภูมิ 2 สีมารวมกันจะเกิดเป็น สีทุติยภูมิ ซึ่งสีทุตยภูมิแต่ละสีจะมีความแตกต่างกันในระดับความเข้มสีและความสว่างของแสง ดังภาพ



เรามองเห็นวัตถุที่เปล่งแสงด้วยตัวเองไม่ได้ก็เพราะมีแสงสะท้อนจากวัตถุนั้นเข้าสู่นัยย์ตาของเรา และสีของวัตถุก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแสงที่สะท้อนนั้นด้วย โดยวัตถุสีน้ำเงินจะสะท้อนแสงสีน้ำเงินออกไปมากที่สุด สะท้อนแสงสีข้างเคียงออกไปบ้างเล็กน้อย และดูดกลืนแสงสีอื่น ๆ ไว้หมด ส่วนวัตถุสีแดงจะสะท้อนแสงสีอดงออกไปมากที่สุด มีแสงข้าวเคียงสะท้อนออกไปเล็กน้อย และดุดกลืนแสงสีอื่น ๆ ไว้หมด สำหรับวัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกแสงสีและสะท้อนกลับได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังภาพ

การหักเหของแสง (Refraction of Light)

เมื่อแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางโปร่งใส เช่น อากาศ แก้ว น้ำ พลาสติกใส แสงจะสามารถเดินทางผ่านได้เกือบหมด เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางชนิดเดียวกัน แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงเสมอ แต่ถ้าแสงเดินทางผ่านตัวกลางหลายตัวกลาง แสงจะหักเห
สาเหตุที่ทำให้แสงเกิดการหักเห
เกิดจากการเดินทางของแสงจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งซึ่งมีความหนาแน่นแตกต่างกัน จะมีความเร็วไม่เท่ากันด้วย โดยแสงจะเคลื่อนที่ในตัวกลางโปร่งกว่าได้เร็วกว่าตัวกลางที่ทึบกว่า เช่น ความเร็วของแสงในอากาศมากกว่าความเร็วของแสงในน้ำ และความเร็วของแสงในน้ำมากกว่าความเร็วของแสงในแก้วหรือพลาสติก
การที่แสงเคลื่อนที่ผ่านอากาศและแก้วไม่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเพราะเกิดการหักเหของแสง โดยแสงจะเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า ( โปร่งกว่า) ไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า ( ทึบกว่า) แสงจะหักเหเข้าหาเส้นปกติ ในทางตรงข้าม ถ้าแสงเดินทางจากยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า ไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า แสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ
ดรรชนีหักเหของตัวกลาง (Index of Refraction)
การเคลื่อนที่ของแสงในตัวกลางต่างชนิดกันจะมีอัตราเร็วต่างกัน เช่น ถ้าแสงเคลื่อนที่ในอากาศจะมีอัตราเร็วเท่ากับ 300,000,000 เมตรต่อวินาที แต่ถ้าแสงเคลื่อนที่ในแก้วหรือพลาสติกจะมีอัตราเร็วประมาณ 200,000,000 เมตรต่อวินาที การเปลี่ยนความเร็วของแสงเมื่อผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน ทำให้เกิดการหักเห อัตราเร็วของแสงในสุญญากาศต่ออัตราเร็วของแสงในตัวกลางใดๆ เรียกว่า ดรรชนีหักเหของตัวกลาง นั้น
ดรรชนีหักเหของตัวกลาง = อัตราเร็วของแสงในสุญญากาศ/ อัตราเร็วของแสงในตัวกลางใด ๆ
( อัตราเร็วของแสงในสุญญากาศ = 3 x 10 8 เมตร / วินาที)








      การหักเหของแสงทำให้เรามองเห็นภาพของวัตถุอันหนึ่งที่จมอยู่ในก้นสระว่ายน้ำอยู่ตื้นกว่าความเป็นจริง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า แสงจากก้นสระว่ายน้ำจะหักเหเมื่อเดินทางจากน้ำสู่อากาศ ทั้งนี้เพราะความเร็วของแสงที่เดินทางในอากาศเร็วกว่าเดินทางในน้ำ จึงทำให้เห็นภาพของวัตถุอยู่ตื้นกว่าความเป็นจริง

ผลที่เกิดขึ้นจากการหักเหของแสง

เมื่อมองที่อยู่ในน้ำโดยนัยน์ตาของเราอยู่ในอากาศ จะทำให้มองเห็นวัตถุตื้นกว่าเดิม นอกจากนี้นักเรียนอาจจะเคยสังเกตุว่าสระว่ายน้ำหรือถังใส่น้ำจะมองดูตื้นกว่าความเป็นจริง เพราะแสงต้องเดินทางผ่านน้ำและอากาศแล้วจึงหักเหเข้าสู่นัยน์ตา


24 June 2556

ความรู้ที่ได้รับ

ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน โดยแบ่งหัวข้อดังนี้
  1. ความหมาย
  2. ความสำคัญ
  3. สติปัญญา
  4. การเรียนรู้
  5. แนวคิดพื้นฐาน
  6. ทักษะกระบวนการ
ความสำคัญทางวิทยาศาสตร์
  • มีความสำคัญยิ่งในโลกปัจจุบันและโลกอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตทุกคนทั้งในการดำรงชีวิตในอาชีพต่างๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน ผสมผสานความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่นๆ
  • วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี ค้นคว้าความรู้ เป็นนวัตกรรมโลกสมัยใหม่ ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ การดูแลรักษา เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถแข่งขันกับนานาประเทศและดำเนินชีวิตร่วมกันในโลกสังคมได้อย่างมีความสุข
พัฒนาการทางสติปัญญา
  • ความเจริญงอกงามด้านความสามารถ
พัฒนาขั้นมาจากการมรปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
  • เริ่มจากแรกเกิด ทำให้เด็กรู้จักตน เพราะตนเด็กจะยังไม่สามารถแยกตนได้
  • การปฏิสัมพันธ์
  • กระบวนการดูดซึม
  • กระบวนการปรับโคครงการ
ความหมายทางวิทยาศาสตร์
  • ศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อม
แนวคิดพื้นฐาน
  • การเปลี่ยนแปลง
  • ความแตกต่าง
  • การปรับตัว
  • การพึ่งพาอาศัย
  • ความสมดุล
การเรียนรู้
  • เกิดจากเส้นใยสมอง
มีการสรุปเป็น  Mind Maple