วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

13 กุมภาพันธ์ 2557

13  กุมภาพันธ์   2557
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
EAED 2209 เวลา 15.00 - 17.30  กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน


****วันนี้นักศึกษาได้ออกมาดูงานที่โรงเรียนเกษมพิษยา****

ภาพบรรยากาศการดูงาน







ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

การนำความรู้เรื่องการเรียนการสอนแบบต่างๆมาประยุกต์ใช้ เทคนิคและวิธีกรเก็บเด็ด การเตรียมเด็กก่อนขึ้นชั้นอนุบาล และการเรียนร่วมบางเวลาและเต็มเวลาของเด็กปกติกับเด็กพิเศษ

วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

23 September 2013

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้ทำอาหารกันในห้องมีเพื่อนเตรียมวัตถุดิบมาให้
เมนูที่ทำในวันนี้คือ   ข้าวผัดแสนอร่อย

Mind  Maple วัตถุดิบในการทำข้าวผัด



Mind  Maple วิธีการทำข้าวผัด



***กิจกรรมตอนทำข้าวผัดแสนอร่อย***


เพื่อนกำลังบรรยายเกี่ยวกับการทำข้าวผัด



อาจารย์บรรยายเกี่ยวกับข้าวผัด


 อาจารย์บรรยายเกี่ยวกับข้าวผัด


วัสดุสำหรับทำข้าวผัด


 เพื่อนๆช่วยกันทำข้าวผัด


เพื่อนๆช่วยกันทำข้าวผัด


 เพื่อนๆช่วยกันทำข้าวผัด


เพื่อนๆช่วยกันทำข้าวผัด


ข้าวผัดแสนอร่อยของกลุ่มเรา

***สรุปกิจกรรม***

ความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมคือ การทำงานเป็นกลุ่ม การร่วมมือ ความสามัคคี การจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้งเราต้องมีการวางแผนงานล่วงหน้ามาเป็นอย่างดี และควรจะจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอสำหรับเด็กๆในการทำกิจกรรม เราจะต้องศึกษาหาข้อมูงสามารถที่จะตอบคำถามเด็กๆได้ และเราจะต้องให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตัวของเขาเองเป็นการเสริมสร้างความรู้นอกห้องเรียนให้แก้เด็ก และเราควรพูดชมเชยเด็กเมื่อเด็กทำกิจกรรมเสร็จ และสอนให้เด็กรู้จักเก็บขอเข้าที่ให้เรียบร้อย

***หาเพิ่มเติมจากในห้องเรียน***

การทำข้าวผัดให้อร่อย

การทำข้าวผัดให้อร่อย เริ่มจากข้าวสวยที่ผัดต้องหุง ให้เป็นเม็ดสวย "วิธีการหุงข้าว" ก็มีเคล็ดลับการหุงข้าวสารใหม่ต้องใส่น้ำน้อย เพราะข้าวยังมีความชื้นอยู่มาก แต่ถ้าเป็นข้าวเก่า ต้องใส่น้ำให้ท่วมข้าวหนึ่งองคุลี หุงแบบไม่เช็ดน้ำ หรือนึ่ง ก็จะได้ข้าวสวยที่เป็นเม็ดสวยมีคุณค่าสูง เมื่อสุกใหม่ร้อนๆ ต้องเกลี่ยใส่ถาด ให้ข้าวเย็นก่อนจึงนำมาผัดข้าวจะไม่เกาะตัวเป็นก้อน แต่ถ้าข้าวผัดที่ ทำจากข้าวกล้องนั้น มีวิธีหุงคือ ต้องใส่น้ำมาก เพราะข้าวกล้องดูดน้ำได้ดี แต่เมื่อสุกทิ้งให้เย็นต้องผัดเลยไม่ควรใช้ข้าวกล้องที่ทิ้งไว้นานมาผัด เพราะข้าวสวยที่หุงจากข้าวกล้องจะบูดง่ายกว่าข้าวสวยที่หุงจากข้าวขาว

เมื่อได้ข้าวสวยที่เหมาะในการทำข้าวผัดแล้ว ทำอย่างไรจึงจะผัดให้ข้าวเป็นเงาสวยน่ากินสิ่งสำคัญอยู่ที่ "ไฟ" ต้องใช้ไฟกลางในการเจียวกระเทียมจนเหลือง ใส่เครื่องปรุงที่เป็นเนื้อสัตว์ผัดจนสุกก่อน จึงใส่ข้าวผัดให้ทั่ว ถ้าข้าวผัดชนิดใดมีส่วนผสมของไข่ต้องใส่ไข่ทีหลังข้าวพอผัดข้าวจนทั่วเกลี่ยข้าวไว้อีกด้าน หนึ่งต่อยไข่ใส่กลบข้าวบนไข่พอสุกจึงค่อยผัดไข่ ในขั้นตอนนี้ต้องผัดเร็วๆ ไข่จะเกาะเม็ดข้าวดี และไม่แฉะ เช่น ข้าวผัดปู ข้าวผัดทะเล ข้าวผัดกุ้ง ข้าวผัดหมู ในกรณีที่เป็นข้าวผัดที่นำน้ำพริกมาประยุกต์ คลุกน้ำพริกกับข้าวให้ทั่วก่อน จึงค่อยผัดทีหลังจะทำให้ส่วนผสมเข้ากันได้ดี
"กระทะ" เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการทำข้าวผัดเลยทีเดียว กระทะเหล็กรับความร้อนได้เร็วและดี แต่ข้าวจะติดกระทะ ต้องผัดเร็วๆเหมาะสำหรับแม่ครัวที่ชำนาญในการผัดขัาว เพราะข้าวผัดที่ได้จะมีกลิ่นหอม ถ้าเป็นแม่ครัวมือใหม่ต้องใช้กระทะเทฟล่อน แต่กลิ่นหอมจะสู้ข้าวที่ผัดจากกระทะอะลูมิเนียม กระทะเหล็ก หรือกระทะเหล็กเคลือบไม่ได้ "ตะหลิว" ก็เช่นกันต้องเลือกด้ามที่ติดแน่น ทนความร้อน

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

16 September 2556

ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้มีอาจารย์เข้ามาสอนคือ อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิน 
อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม ๆ ละ 5 - 6  คน  แล้วนั่งรวมกลุ่มกัน ให้แต่ละกลุ่มเลือกอาหารที่จะทำ
กลุ่มที่  1  แกงจืดเต้าหู้หมูสับ
กลุ่มที่  2  แซนวิทไข่ดาว
กลุ่มที่  3  วุ้นมะพร้าว
กลุ่มที่  4  ข้าวผัด
กลุ่มที่  5  ไข่ตุ๋น

***กลุ่มของดิฉันเลือกคือ แกงจืดเต้าหู้หมูสับ***

จุดประสงค์
  • เด็กสามารถบอกวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการประกอบอาการได้
  • เด็กสามารถบอกการเปลี่ยนแปลงของวุตถุดิบก่อนใส่และหลังใส่ได้
  • เด็กสามารถบอกรสชาติของแกงจืดได้
  • เด็กสามารถบอกขั้นตอนในการทำได้
ประสบการณ์สำคัญ
  1. การสังเกต
  2. การทดลอง
  3. การเปรียบเทียบ
  4. การคาดคะเน
กิจกรรม

        ขั้นนำ
  1. เด็กและครูร่วมกันสร้างข้อตกลงร่วมกันในการทำอาหาร
  2. เด็กและครูสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเมนูอาหารที่ทำในวันนี้

        ขั้นสอน
 1     เด็กและครูร่วมกันสรุปข้อตกลงเมนูอาหารในวันนี้
 2     ครูนำวัตถุดิบมาให้เด็กๆดูและครูถามว่า
"เด็กๆรู้จักวัตถุดิบที่ครูนำมาหรือไม่"
"เด็กๆคิดว่ารสชาติของผักแต่ละชนิดมีรสชาติอย่างไร"
"เด็กๆลองดูซิว่าของแต่ละอย่างมีลักษณะอย่างไร"
3     ครูเริ่มสาธิตวิธีการทำให้เด็กดู
4     ครูให้เด็กๆสังเกตวัตถุดิบที่ใส่ลงไปแล้วบอกว่ามีลักษณะอย่างไร
5     ครูอุเด็กชิมรสชาติของอาหารก่อนปรุงรสและหลังปรุงรส

         ขั้นสรุป

ครูและเด็กร่วมกันชิมรสชาติของอาหาร

ภาพกิจกรรม
อุปกรณ์

กำลังลงมือปฏิบัติ

วัตถุในการแกงจืด


วิธีการทำแกงจืด

ภาพกิจกรรม


ภาพกิจกรรม

นำเสนอแผนกิจกรรมหน้าชั้นเรียน

***สรุปองค์ความรู้เป็น  Mind Maple***



      9 September 2556


      ***ไม่มีการเรียนการเรียนการสอน***


      วันนี้นักศึกษาได้หาความรู้เพิ่มเติมจากที่เรียนวิทยาศาสตร์

      การทดลองวิทยาศาสตร์เเบบง่ายๆ


      ขวดเป่าลูกโป่ง


      ...ก๊าซเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็นแต่เรารู้ว่ามันเกิดขึ้นและมีอยู่ได้โดยจับมันไว้ในลูกโป่ง 
      สิ่งที่ต้องใช้
      1. ขวดแก้วเตี้ย อย่างขวดน้ำส้มสแปลช 1 ขวด
      2. ลูกโป่ง 1 ใบ
      3. ผงฟู (เบกกิ้งโซดา) 5 ช้อนโต๊ะ
      4. น้ำส้มสายชู


      วิธีทดลอง
      1. เป่าลูกโป่งให้ยืดตัวก่อนทดลองสัก 2 รอบ
      2. ใส่เบกกิ้งโซดา ลงในขวดแก้ว
      3. เติมน้ำส้มสายชูลงไป
      4. ครอบลูกโป่งลงบนปากขวด

      เพราะอะไรกันนะ
                  เมื่อเบกกิ้งโซดา ทำปฏิกิริยากับน้ำส้มสายชูจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ขึ้นก๊าซเบากว่าอากาศ จึงลอยสูงขึ้น เมื่อมีก๊าซมากๆก็จะดันลูกโป่งให้พองออกได้    เบกกิ้งโซดา (Baking Soda) มีชื่อทางวิทย่ศาสตร์ว่า  โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium Bicarbonate) หรือที่คุณแม่เรียกว่า ผงฟู นั่นเอง



       เปลวไฟลอยน้ำ



      สิ่งที่ต้องใช้
      1.        เทียนไข
      2. แก้วทรงสูงใส่น้ำ (ต้องสูงกว่าความยาวเทียนนะ)
      3.       หมุดหัวหมวก หรือตะปูเกลียวตัวเล็กๆ

      วิธีทดลอง

      1.        เเติมน้ำลงในแก้ว 5/6 แก้ว 
      2.       นำหมุดมาปักลงที่ฐานเทียนไข(ด้านป้าน)
      3.    นำ แท่งเทียนใส่ลงไปในแก้วน้ำ แล้วจุดเทียน
      เพราะอะไรกันนะ


                  เทียนไขลอยอยู่ที่ผิวน้ำได้ และไฟก็จะไม่ดับ เพราะเทียนทำจากขี้ผึ้งพาราฟินจึงไม่เปียกน้ำ และหมุดหัวหมวก ทำหน้าที่เป็นจุดรวมน้ำหนักให้อยู่ที่แกนกลางแท่งเทียนจึงไม่เอียงคว่ำ ขี้ผึ้งพาราฟินเป็นไขมันที่ได้จากการกลั่นจากปิโตรเลียมมีลักษณะใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ คล้ายกับขี้ผึ้ง จุดหลอมเหลวที่ 47-64 องศาเซลเซียส ซึ่งขี้ผึ้งพาราฟินบริสุทธิ์จะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี ไม่ละลายน้ำ พาราฟินมักนำมาทำเทียนไข หรือเคลือบวัสดุต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้โดนความชื้นจากน้ำ 


        ความลับของสี


      สีต่างๆที่เราเห็น ไม่ได้ประกอบด้วยสีเดียวเสมอไปนะ  ในแต่ละสีอาจมีรวมกันอยู่ถึง 4 สี เรามาทดลองเพื่อเผยความลับของสีกันเถอะ

      สิ่งที่ต้องใช้
      1. สีเมจิ สีดำ , น้ำเงิน , น้ำตาล (สีเข้มๆจะให้ผลการทดลองที่น่าตื่นเต้น)
      2. กระดาษกรองกาแฟ , กรองตะกอนน้ำมัน
      3. แก้วใส่น้ำ

      วิธีทดลอง
      1. ตัดกระดาษกรองเป็นแถบยาวๆ
      2. ระบายสีเมจิที่ต้องการทดสอบให้เป็นแถบหนา โดยห่างจากปลายกระดาษประมาณ 1 ซม.
      3. จุ่มปลายกระดาษในช่วงที่เว้นไว้ 1ซม. ลงในน้ำ *ระวังอย่าให้เส้นสีที่ขีดไว้จมน้ำ เพราะสีจะลายลายลงน้ำ
      4. รอดู สังเกตแถบสีที่เริ่มไต่สูงขึ้นไปบนกระดาษกรอง  เธอเห็นสีอะไรซ่อนอยู่?
      5. นำกระดาษไปหนีบผึ่งไว้กับที่ตากถุงเท้า แล้วทดลองสีต่อไป 

      เพราะอะไรกันนะ

                      สีสังเคราะห์เกิดจากการผสมของแม่สี คือ แดง เหลือง น้ำเงิน ในอัตราส่วนไม่เท่ากัน ทำให้เกิดสีต่างๆมากมาย  การแยกสีด้วยกระดาษกรองนี้ เราเรียกว่า "เปอเปอร์โครมาโทกราฟี" (Paper Chromatography) ซึ่งเป็นการแยกสารที่ผสมกันในปริมาณน้อยให้แยกออกมาเป็นแถบเส้นสีหรือแถบสี อาศัยสมบัติ 2 ประการ คือ 
          1. สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการละลายในตัวทำละลาย (น้ำ) ได้ต่างกัน


          2. สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการถูกดูดซับด้วยตัวดูดซับ (กระดาษกรอง)ได้ต่างกัน 
      สารที่ละลายในตัวทำละลายได้ดีส่วนมากจะถูกดูดซับไม่ดี จึงเคลื่อนที่ไปได้ไกล ส่วนสารที่ละลายในตัวทำละลายได้ไม่ดี ส่วนมากจะถูกดูดซับได้ดีจึงอยู่ใกล้จุดเริ่มต้น


       ไข่เอย..จงนิ่ม


      สิ่งที่ต้องใช้
      1. แก้ว 1 ใบ
      2. ไข่ไก่ 1 ฟอง
      3. น้ำส้มสายชู

      วิธีทดลอง
      1. นำไข่ไก่ใส่ลงไปในแก้ว
      2. เทน้ำส้มสายชูลงไปให้ท่วมไข่
      3. ทิ้งไว้ 1 คืน  อดใจรอนะพอตอนเช้าเทน้ำออกก็แล้วลองจับไข่ดูซิ..

      เพราะอะไรกันนะ


      น้ำส้มสายชูเป็นสารเคมีประเภทกรดอินทรีย์ ได้แก่ กรดน้ำส้มหรือกรดอะซิติก ซึ่งสามารถละลายแคลเซียมได้ เปลือกไข่มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้เปลือกไข่แข็ง  เมื่อถูกละลายหายไป เปลือกไข่จึงนิ่ม 





      2 September 2556

      ***ไม่มีการเรียนการสอน***

      (อาจารย์ติดประชุม)

      วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

      26 August 2556

      ความรู้ที่ได้รับ

      ***วันนี้อาจารย์ได้ติดประชุม อาจารย์ให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมที่คณะศึกษาศาสตร์***